เขียนยังไงให้ภาษาอังกฤษเป็น Academic writing
การเขียน Academic writing ใช้ในงานหลายประเภทมาก ทั้ง assignment ที่ได้เป็นประจำ ไปจนถึง thesis และ dissertation กันเลย นอกจากจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่กำลังจะเขียน ยังจะต้องใช้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล และยังต้องเผื่อเวลาไว้สำหรับการ proofreading เพื่อให้งานออกมาดี ภาษาสละสลวย และไม่มีข้อผิดพลาด
และเพื่อให้เขียนงานออกมาได้ตอบโจทย์ ตรงตามเป้าหมายของ assignment ก็มีหลักสำหรับการเขียน Academic writing ที่น้องๆควรคำนึงถึงดังนี้
1. Narration
- คือ Mood and Tone ของงานที่เรากำลังจะเขียน ส่วนใหญ่จะถูกกำหนดจากผู้อ่านเป็นหลัก ซึ่งในงานเขียนที่เรากำลังพูดถึงอยู่ คือ งานที่ส่งให้อาจารย์เป็นผู้ตรวจให้คะแนน ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าคนอ่านของเราต้องเป็นอาจารย์ เพราะฉะนั้น Tone ของการเขียนต้องค่อนกระชับและมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ต้องพรรณนามากเกินไป แต่ให้เน้นไปที่การสื่อถึงประเด็นที่เราจะเขียนอย่างตรงไปตรงมา มีไอเดียสนับสนุนความเห็นนั้น ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงข้อมูลที่เป็น Fact หรือ Research ที่มีที่มาที่ไปชัดเจน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเด็นที่เราต้องการจะสื่อมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ
2. Vocabulary
- การใช้ศัพท์ที่เป็นทางการมีความสำคัญมากๆ กับงานเขียน Academic writing นอกจากจะเป็นการแสดงถึงความตั้งใจและค้นคว้ามาแล้วเพื่อเขียนงานเป็นอย่างดีแล้ว ยังแสดงถึงความสามารถเชิงวิชาการที่เรามีด้วย เรียกได้ว่าคำศัพท์เป็นตัวแปลสำคัญอันดับต้นๆที่แยกความแตกต่างระหว่าง informal กับ formal language เลย และยังเป็นการวัดความสามารถในการเขียน academic writing ของเราได้เป็นอย่างดี ลองดูตัวอย่างด้านล่างนี้นะคะ
Incorrect
That conference worked out amazingly.
Correct
The conference was successful.
จะสังเกตเห็นความจริงจังทางด้านภาษา และเห็นความแตกต่างของภาษาทางการและไม่ทางการได้เป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้เองที่ใช้เป็นตัวตัดสินที่สำคัญว่า เรากำลังเขียนงานแบบ academic writing อยู่รึป่าว
3. Grammar and Structure
ใน Academic writing แม้ว่าเราควรจะต้องใช้ complex sentence ในการเขียน แต่ไม่ควรใช้มากเกินไป เราจะต้องไม่เขียนอธิบายยาวๆโดยไม่จบประโยคซักที หรือว่าจบประโยคแบบสั้นเกินไป รวมถึงการใช้แกรมม่าผิด ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องที่อนุโลมได้ในภาษาพูด แต่ในภาษาเขียน ยิ่งเป็นการเขียน academic writing ด้วยแล้วยิ่งไม่ควรทำ เพราะงานของเราอาจจะไปเป็น reference ให้งานของคนอื่นก็ได้ เพราะฉะนั้นจะต้องตรวจสอบให้ดีก่อนส่งงาน และใน academic writing มักจะใช้ passive voice มากกว่าภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการ เป็นโครงสร้างประโยคที่สำคัญที่เราจะต้องใส่ใจ สังเกตจากตัวอย่างนี้นะคะ
Incorrect
The writing of F. Scott Fitzgerald shows off his keen observational skills like when he describes Gatsby’s parties or Daisy’s behavior toward her daughter. These scenes are full of life and sadness.
Correct
In the F. Scott Fitzgerald work, you can analyze the author’s observational skills. For example, the descriptions of Gatsby’s parties and Daisy’s behavior toward her daughter are full of life and sadness.
4. Personality
ในภาษาเขียนที่เป็น Academic writing มักจะไม่ค่อยเอ่ยถึงตัวคนเขียนโดยตรง เช่น การใช้ I, We หรือ us และ you เพราะในงานเขียนจำเป็นจะต้องมีการรับรองต่อสิ่งที่เราเขียนอย่างชัดเจน และนี่ทำให้ใน academic writing เราจะใช้ passive voice มากกว่า active voice
Incorrect
We conducted research and got extensive information on our topic.
Correct
Through the research, extensive information on the subject matter was provided.
5. Conjunctions and Contractions
การใช้คำเชื่อมที่ถูกต้องและเหมาะสมจำเป็นมากๆใน academic writing เพราะจะทำให้งานเขียนของเราดูเป็นทางการขึ้นมาทันที มีคำเชื่อมหลายๆความหมายที่จะถูกใช้แตกต่างการในภาษาทางการและไม่ทางการ เช่น to sum up / in conclusion, so / thus, anyway / notwithstanding เป็นต้น รวมถึงการย่อคำ การรวบคำต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรใช้ในการเขียน academic writing แต่สิ่งที่เราจำเป็นต้องทำคือ การย่อรูปประโยคให้กระชับ แต่ยังคงความหมายไว้ครบถ้วน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะแสดงถึงสกิลของภาษาอังกฤษของเราได้เป็นอย่างดี
Incorrect
John always thinks about Mary and the future with her. But she doesn’t love him back in the same way.
Correct
John adores Mary and wants to spend his life with her, but she doesn’t love him back in the same way.
Incorrect
The results provided can’t be used for studies we’re going to conduct.
Correct
The results cannot be used for future studies.
6. Punctuation
การใช้เครื่องหมายต่างๆในการเขียน academic writing ก็เป็นข้อควรระวังอีกข้อที่เราต้องให้ความสำคัญมาก เวลาที่เราอ่านบทความวิชาการใน textbook จะสังเกตได้ว่าจะไม่มีการใช้เครื่องหมาย เช่น เครื่องหมายตกใจ (!) เครื่องหมายแอนด์ (&) โดยไม่จำเป็น เพราะในการเขียนเชิงวิชาการเราจะไม่แสดงอารมณ์ในงานนั้นๆ การแสดงอารมณ์จะทำให้งานเขียนดูไม่จริงจัง เหมือนเป็นการแชทคุยกันเพื่อนมากกว่า นอกจากนี้การใช้เครื่องหมายคอมม่า (,) หรือ โคลอน (:) หรือ เซมิโคลอน (;) ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่มักถูกใช้บ่อย ก็ต้องใช้ให้ถูกตามหลากแกรมม่าด้วย จะใช้ด้วยความเคยชินไม่ได้
สิ่งเหล่านี้เป็นหลักเบสิคของการ academic writing หรือ การเขียนเชิงวิชาการในภาษาอังกฤษ ที่น้องๆควรนำไปปรับใช้ และเป็นข้อควรระวังไม่ให้เกิดการผิดพลาดขึ้น ถ้าใครทำได้ทุกข้อรับรองว่างานเขียนที่จะส่งอาจารย์จะออกมาดีแน่นอน แต่ถ้าเกิดต้องเขียนเยอะๆ เช่น ต้องทำ thesis หรือ dissertation แล้วไม่มั่นใจว่า เราจะระวังได้ครบทุกจุดรึป่าว ก็สามารถใช้บริการ Proofreading กับทางแมงโก้ได้เลย เพราะทีม editor ของเราเป็นอาจารย์ชาวอังกฤษที่จบด้านภาษาศาสตร์มาโดยตรง และมีประสบการณ์ในการเขียน academic writing มากกว่า 10 ปี มั่นใจได้เลยว่า งานของน้องๆจะผ่านการตรวจที่มีมาตรฐานสูงแน่นอน ติดต่อส่งงานให้ประเมิณเบื้องต้นได้เลยค่า
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนต่อในประเทศอังกฤษ บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น โทร. 02-129-3313, 085-144-8808 หรือ LINE: @Mangolearning